เมนู

อรรถกถาโรโตสูตรที่ 6



บทว่า กโรโต คือ ทำด้วยมือของตนเอง.
บทว่า การยโต คือ ให้เขาทำตามคำสั่ง (ใช้ให้ทำ).
บทว่า ฉินฺทโต คือ ตัดอวัยะทั้งหลาย มีมือเป็นต้น ของบุคคลอื่น.
บทว่า เฉทาปยโต คือ เบียดเบียนด้วยอาชญา.
บทว่า โสจยโต ความว่า ทำความเศร้าโศกแก่บุคคลอื่นเองก็ดี
ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ดี ด้วยทุจริตกรรม มีลักของของบุคคลอื่นไปเป็นต้น.
บทว่า กิลมโต ความว่า ทำตัวเองให้ลำบากก็ดี ทำผู้อื่นให้ลำบาก
ก็ดี ด้วยการงดให้อาหาร และการถูกกักขังในเรือนจำเป็นต้น.
บทว่า ผนฺทโต ผนฺทาปยโต ความว่า ในเวลาเบียดเบียน
บุคคลอื่นผู้ดิ้นรนอยู่ ชื่อว่าทั้งทำตัวเองให้ดิ้นรน ทั้งทำให้บุคคลอื่น
แม้นั้นดิ้นร้นด้วย.
บทว่า ปาณมติปาตาปยโต ความว่า ฆ่าสัตว์เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่น
ฆ่าก็ดี.
ในทุกๆบท ก็พึงทราบความหมาย ด้วยอำนาจเหตุแห่งการ
กระทำอย่างนี้แล.
บทว่า สนฺธึ ได้แก่ ที่ต่อของเรือน.
บทว่า นิลฺโลปํ ได้แก่ การปล้นสะดมใหญ่.
บทว่า เอกาคาริกํ ได้แก่ การล้อมเรือนหลังเดียวแล้วปล้น.
บทว่า ปริปนฺเถ ได้แก่ ดักอยู่ที่ทางหลวง เพื่อตีชิงผู้คนที่ผ่าน
ไปผ่านมา

ด้วยบทว่า กรโต น กรียติ ปาปํ อกิริยวาทีบุคคลทั้งหลาย
ย่อมแสดงว่า เมื่อบุคคลแม้ทำอยู่ด้วยความสำคัญว่า เราทำบาปอย่างใด
อย่างหนึ่ง บาปก็ไม่เป็นอันทำ บาปไม่มี เป็นแต่ว่าสัตว์ทั้งหลายมีความ
สำคัญอย่างนี้ว่า เราทำ.
บทว่า ขุรปริยนฺเตน ความว่า ด้วยคมมีดโกน หรือด้วยปลาย
(ที่คม) เช่นกับคมมีดโกน.
บทว่า เอกํ มํสขลํ ได้แก่ กองเนื้อกองเดียวกัน.
บทว่า ปุญฺชํ เป็นไวพจน์ ของบทว่า มํสขลํ นั้นนั่นแล.
บทว่า ตโตนิทานํ ได้แก่ มีการทำให้เป็นลานเนื้อเดียวกันเป็นเหตุ.
บทว่า ทกฺขิณํ ความว่า มนุษย์บนฝั่งขวาเป็นคนโหดร้ายทารุณ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอามนุษย์เหล่านั้น จึงตรัสคำว่า หนนฺโต
เป็นต้น. มนุษย์บนฝั่งซ้าย เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส เป็นพุทธมามกะ
ธรรมมามกะ สังฆมามกะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอามนุษย์
เหล่านั้น จึงตรัสคำว่า ททนฺโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชนฺโต ได้แก่ ทำการบูชาใหญ่.
บทว่า ทมน คือ ด้วยการฝึกอินทรีย์ ได้แก่ ด้วยอุโบสถกรรม.
บทว่า สํยเมน คือ ด้วยการรักษาศีล.
บทว่า สจฺจวชฺเชน คือ ด้วยการกล่าวคำสัตย์.
บทว่า อาคโม แปลว่า การมา อธิบายว่า ความเป็นไป.
อกิริยวาทีบุคคล ปฏิเสธการทำบุญและบาปอย่างสิ้นเชิง.
จบ อรรถกถากโรโตสูตรที่ 6

7. เหตุสูตร



[429] กรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่ออะไรมีอยู่ เพราะถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร
จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมอง
แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อม
เศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายหาเหตุมิได้ หาปัจจัยมิได้ ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง
ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ
สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ
ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามภาวะแห่งความแน่นอนและ
ความไม่แน่นอน ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง 6 เท่านั้น ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์
ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ.
ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะ
ยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ ย่อม
เสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง 6 เท่านั้น เมื่อเวทนามีอยู่...เมื่อสัญญา
มีอยู่... เมื่อสังขารมีอยู่... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ
เพราะยึดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ฯลฯ
เสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้ง 6 เท่านั้น.
[430] ภ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
ภิ. ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า